Copyright 2024 - Custom text here

 

วันที่ 14 กรกฎาคม 2567
นางสาวจิตติมา ศรีวรรณโสภณ รักษษการในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานบริหารานบุคคล พร้อมด้วย นางสิริมา ตอรบรัมย์ นางวาสินี อิศรานุวัฒน์ และนางสาวสาวิตรี ผาสุข เข้าร่วมงานมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประกาศความสำเร็จจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผ่านงาน Inter Inspire week 2024 : แรงบันดาลใจแห่ง สายน้ำ” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นด้วยอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลักดันสู่การ เป็นเมือง Soft Power

มีกิจกรรมการประกาศความสำเร็จการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในงาน Inter Inspire week 2024 : แรงบันดาลใจแห่งสายน้ำ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นด้วยอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลักดันสู่การเป็นเมือง Soft Power โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง ผู้แทนนางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา รองศาสตรจารย์ พินิติ รตะนานุกูล นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ตลอดจนส่วนราชการ ผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในกิจกรรมณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารราชนครินทร์

นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา มีแม่น้ำบางปะกงเป็นแหล่งชีวิตของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา แม่น้ำบางปะกงเป็นแม่น้ำที่มีความพิเศษกว่าแม่น้ำสายอื่นคือมีทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ก่อให้เกิดอาชีพทางเกษตร และมีผลผลิตที่มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่ไม่ เหมือนใคร อาทิ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะพร้าวน้ำหอม เมล่อนที่มีรสชาติหอมหวาน และมีการ นำผลผลิตไปต่อยอดด้วยนำนวัตกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจ โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ร่วมมือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

รองศาสตรจารย์ พินิติ รตะนานุกูล นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้จัดงาน Inter Inspire week 2024 : แรงบันดาลใจแห่ง สายน้ำ” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นด้วยอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลักดันสู่การ เป็นเมือง Soft Power ในระหว่างวันที่ 10-14 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์ โดยในงานมีการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การเสวนาและการประกวด Soft power สาขาต่าง ๆ อาทิ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ฟิล์ม และอาหาร กีฬา Soft Power (มวยไทย) การออกแบบอาหารอัตลักษณ์ ท้องถิ่น การพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง ด้วยแนวคิด Happy Model การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ท้องถิ่น กิจกรรมขับเคลื่อนฉะเชิงเทรา Net Zero 2050 การจัดตลาดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของ ประชาชน ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและหลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของ สถานการณ์โลก และในวันนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้ประกาศความสำเร็จจากการดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีปักหมุดความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ตำบล รวม 43 พื้นที่ ครอบคลุมการพัฒนาทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำองค์ความรู้ และนวัตกรรมมายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้เกิดผลสำเร็จเชิงประจักษ์ ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวมาจากแรงบันดาลใจแห่งสายน้ำ แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิตของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา

นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานในพิธี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีบทบาทสำคัญในการสร้างและส่งเสริมนโยบาย Soft Power ของประเทศไทย โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่สำคัญ อาหารที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ศิลปะการต่อสู้ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ้าพื้นถิ่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยคือ 1 ครอบครัว 1 Soft Power อย่างชัดเจน การดำเนินงานนี้ไม่เพียงแต่รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของประเทศไทยไว้เท่านั้น แต่ยังช่วย สร้างคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของไทยสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างความภาคภูมิใจให้กับประชาชนในประเทศ อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศของเราให้ก้าวไปสู่การแข่งขันในระดับโลกอย่างยั่งยืนต่อไป

   

   

   

f t g